Please update your Flash Player to view content.

เร่งเครื่องปราบ‘ศัตรูอ้อย’ l‘สุพรรณ-ราชบุรี’หนุนเกษตรกรใช้วิธีผสมผสาน

เร่งเครื่องปราบ‘ศัตรูอ้อย’ l‘สุพรรณ-ราชบุรี’หนุนเกษตรกรใช้วิธีผสมผสาน

วันพุธ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560, 06.00 น.ศัตรูอ้อย สุพรรณ-ราชบุรี
alt
 
      นายสมคิด เฉลิมเกียรติ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จ.ราชบุรี โดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุพรรณบุรี (ศทอ.สุพรรณบุรี) ดำเนินโครงการป้องกันและกำจัดศัตรูอ้อย ปี 2560 โดยแบ่งเป็นกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1.ผลิตพ่อแม่พันธุ์แมลงหางหนีบ จำนวน 25,000 ตัว 2.ผลิตแมลงหางหนีบพร้อมปล่อย จำนวน 175,000 ตัว 3.ผลิตหัวเชื้อราเมตตาไรเซียม จำนวน 250 ขวด 4.ผลิตเชื้อราเมตตาไรเซียมพร้อมใช้ จำนวน 1,000 กิโลกรัม และ 5.จัดงานวันรณรงค์ป้องกันกำจัดศัตรูอ้อย โดยเน้นศัตรูอ้อยที่สำคัญ 2 ชนิด คือด้วงหนวดยาว และตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส

สืบเนื่องจากในช่วงเดือนก.ค.-ก.ย.2559 ได้พบการระบาดของตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส (ตั๊กแตนข้าว) ในอ้อย เขตพื้นที่ หมู่ที่ 7 อ.จอมบึง และเขตติดต่อ ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี พื้นที่ประมาณ 2,300 ไร่ ซึ่งเป็นช่วงที่ตัวเต็มวัยของตั๊กแตนเริ่มมีการผสมพันธุ์และวางไข่ และจะฟักเป็นตัวอ่อนรุ่นใหม่ประมาณปลายเดือนพ.ค.2560 ศทอ.สุพรรณบุรี ได้ร่วมมือกับกลุ่มงานอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี วางแผนป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยโดยวิธีผสมผสาน ส่วนด้านการควบคุมโดยชีววิธีได้ยึดตามคำแนะนำจากกรมส่งเสริมการเกษตรให้ใช้แมลงหางหนีบ และเชื้อราเมตาไรเซียมป้องกันกำจัดระยะตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกจากไข่ โดยแนะนำให้เกษตรกรใช้เชื้อราเมตาไรเซียมให้ไปกับระบบน้ำหยด ทั้งนี้ เพื่อให้การป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยมีความต่อเนื่อง ศทอ.สุพรรณบุรี จึงได้ของบประมาณเพิ่มเติมจากกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งมีเกษตรกรสนใจและเข้าร่วมโครงการ จำนวน 29 ราย ครอบคลุมพื้นที่ปลูกอ้อย จำนวน 1,795 ไร่

“ผลจากการถ่ายทอดความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยโดยวิธีผสมผสาน ทำให้สถานการณ์ระบาดของตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส ตั้งแต่เดือนพ.ค.2560 ถึงปัจจุบัน ไม่พบความเสียหายของอ้อยที่เกิดจากการทำลายของตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส ที่สำคัญยังพบว่าแปลงไหนที่เกษตรกรมีการใช้เชื้อราเมตตาไรเซียมไปกับระบบน้ำหยดจะพบตั๊กแตนขึ้นไปตายบริเวณปลายยอดอ้อย และแปลงไหนที่ปล่อยแมลงหางหนีบเพื่อกำจัดตัวอ่อนตั๊กแตนตั้งแต่เดือน พ.ค.- มิ.ย.2560 พบการระบาดของหนอนกออ้อยลดลง ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถผลิตขยายแมลงหางหนีบปล่อยในแปลงของตนเอง และยังขยายผลไปสู่แปลงของญาติพี่น้องและเพื่อนเกษตรกรข้างเคียงที่สนใจ โดยเกษตรกรยืนยันว่าแปลงที่ปล่อยแมลงหางหนีบจะสังเกตเห็นการระบาดของหนอนกอลดลงอย่างเห็นได้ชัด” นายสมคิด กล่าว

 

กรุณาเลือกภาษา

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean

แผนที่ท่องเที่ยวไทย

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ








หน่วยงานภาครัฐ













พยากรณ์อากาศ